บริการลูกค้า

คําถามที่พบบ่อย
  • A
    • ปริมาณขั้นต่ำสำหรับอุ่น = ปริมาณขั้นต่ำสำหรับหุง
    • เมื่อคุณหุงข้าวด้วยปริมาณขั้นต่ำ คุณจะไม่สามารถใช้โหมดอุ่นได้ หากคุณต้องการใช้โหมดอุ่น คุณต้องหุงมากกว่าปริมาณขั้นต่ำ อุณหภูมิในโหมดอุ่นจะลดลงหากหุงในปริมาณน้อย เมื่ออุณหภูมิในโหมดอุ่นต่ำกว่า 140 °F (60 °C) ข้าวจะเริ่มบูดเนื่องจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
      ตัวอย่าง: หม้อหุงข้าว JNP-1500 มีปริมาณสำหรับอุ่นและสำหรับหุงเท่ากับ 3 ถ้วย หากคุณหุงข้าวในปริมาณ 3 ถ้วย คุณจะไม่สามารถใช้โหมดอุ่นได้ หากคุณหุง 6 ถ้วย คุณสามารถอุ่นข้าวได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณสำหรับหุง
    • หม้อหุงข้าวแบบง่าย:
      – JNP-0550, 0720, 1000 =1 ถ้วย
      – JNP1500, 1800 = 3 ถ้วย
    • ประเภทไมโครคอมพิวเตอร์:
      - หม้อหุงข้าว 10 ถ้วย = 2 ถ้วย
      - หม้อหุงข้าว 5.5 ถ้วย และ 3 ถ้วย = 1 ถ้วย
    A

    สิ่งที่ต้องตรวจสอบ:

    • คุณรีเซ็ตฟังก์ชั่นการทําอาหารโดยกดปุ่ม [ยกเลิก] ค้างไว้ 5 วินาทีหรือไม่?
    • หม้อหุงข้าวจะกลับสู่โหมดล่าสุดเสมอ
    • คุณใช้การตั้งค่าเมนูผิดหรือไม่
    • เลือกเมนูที่ถูกต้อง
    • มีเศษหรือเมล็ดข้าวตกค้างอยู่บนแผ่นทำความร้อนหรือไม่
    • ถอดแผ่นทำความร้อนออกไปทำความสะอาด
    • คุณตรวจสอบแล้วหรือยังว่าหม้อด้านในอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    • หม้อด้านในต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    • คุณเติมน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนหรือไม่
    • เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิทำงานไม่ถูกต้อง
    • คุณเพิ่มส่วนผสมเกิน 70 กรัม/2 ออนซ์หรือไม่
    • คุณต้องหั่นส่วนผสมให้ละเอียด ปริมาณส่วนผสมสูงสุดคือ 140 กรัม/4 ออนซ์ต่อข้าว 2 ถ้วย, 210 กรัม/6 ออนซ์ต่อข้าว 3 ถ้วย
    • คุณเทส่วนผสมลงในข้าวหรือไม่
    • คุณใส่เครื่องปรุงไว้บนข้าวได้ แต่ห้ามใส่ส่วนผสมไว้ด้านบน
    A

    อาการดังกล่าวแสดงว่าแบตเตอรี่ลิเทียมหมด แบตเตอรี่ลิเทียมไม่มีผลกับโหมดหุง ตราบใดที่ยังเสียบปลั๊กไฟอยู่ คุณก็สามารถใช้คุณสมบัติทั้งหมดได้ หากคุณต้องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า อาจมีค่าบริการ

    A
    • คุณใช้ช้อนส้อมคมๆ หรือฟองน้ำขจัดคราบหนักหรือไม่
    • การใช้ของพวกนี้จะทำให้สารที่เคลือบไว้หลุดลอก แนะนำให้ใช้ฟองน้ำชนิดนุ่ม
    • คุณเปิดโหมดอุ่นไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงหรือไม่
    • ความชื้นในข้าวอาจซึมผ่านสารเคลือบและผุดขึ้นมาจากผนังหม้อด้านในได้
    • คุณหุงข้าวกล้องหรือไม่
    • ชั้นน้ำมัน (น้ำมันรำข้าว) ก็สามารถซึมผ่านสารเคลือบได้ง่ายเช่นกัน
    • คุณเติมพริกป่น เกลือ เนย น้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูหรือไม่
    • การใส่เครื่องปรุงจะลดประสิทธิภาพของสารเคลือบ
    • คุณล้างฝาด้านในและฝาด้านนอกทุกครั้งที่ใช้งานหรือไม่
    • หม้อหุงข้าวบางรุ่นมีปะเก็นที่ฝาด้านนอก ใช้สำหรับกันน้ำระหว่างการหุง อย่าลืมเช็ดให้แห้งทุกครั้งที่ใช้งาน ไม่อย่างนั้น น้ำ/ความชื้นอาจซึมเข้าไปในหม้อด้านในและทำให้เกิดการหลุดลอกได้
    A

    สารเคลือบกันติดอาจเริ่มเสื่อมสภาพ สารเคลือบจะไม่ละลายลงไปในอาหาร และถึงแม้คุณจะกินเศษสารเคลือบเข้าไป สารเคลือบที่ไม่เป็นพิษเหล่านั้นก็จะถูกลำเลียงออกจากร่างกายโดยไม่มีการดูดซึมแต่อย่างใด

    A
    • เสียบปลั๊กไฟ
    • กดปุ่ม [ยกเลิก] ค้างไว้ 5 วินาที
    • ดูให้แน่ใจว่าไฟดับหมดแล้ว
    • หมายเหตุ: การถอดสายไฟออกจะไม่รีเซ็ตโหมดหุง
    A

    ไม่ เราไม่แนะนำให้ใส่นม โดยปกติแล้วนมจะล้นออกมาจากช่องระบาย

    A

    ได้ คุณสามารถเทน้ำซุปเย็นลงในข้าวได้ โปรดเลือกการตั้งค่าเมนู [ข้าวผสม] ปริมาณสูงสุดสำหรับหุงคือ 60% ของความจุ เช่น หม้อหุงข้าวขนาด 10 ถ้วยมีปริมาณสูงสุดคือ 6 ถ้วย ขณะที่หม้อหุงข้าวขนาด 5.5 ถ้วยมีปริมาณสูงสุดคือ 3 ถ้วย
    หมายเหตุ: อย่าใส่ซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศข้นเกินไปสำหรับหม้อหุงข้าว และจะทำให้ข้าวไม่สุก
    หมายเหตุ: หม้อหุงข้าวรุ่น JNP และ JAZ ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
    หมายเหตุ: รุ่น JNP และ JAZ ไม่ได้ใช้กับเรื่องนี้

    A
    • เป็นปริมาณข้าวต่ำสุดที่ใช้หุงได้ในหม้อหุงข้าวแต่ละรุ่น เช่น หม้อหุงข้าวขนาด 5.5 ถ้วยมีปริมาณขั้นต่ำคือ 1 ถ้วย ขณะที่หม้อหุงข้าวชนิดไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด 10 ถ้วยมีปริมาณขั้นต่ำคือ 2 ถ้วย หม้อหุงข้าวรุ่น J NP-1500 และ 1800 มีปริมาณขั้นต่ำคือ 3 ถ้วย
    • หม้อหุงข้าวออกแบบมาให้หุงข้าวสุกพอดี หากคุณหุงข้าวน้อยกว่าปริมาณขั้นต่ำ การกระจายความร้อนจะทำงานได้ไม่ปกติ และอาจทำให้เครื่องตัดไฟก่อนกำหนด
    A

    เราไม่แนะนำให้ใช้น้ำด่างที่มีค่า pH สูงกว่า 9 น้ำด่างจะทำลายส่วนประกอบแป้งในข้าว ทำให้ข้าวแฉะหรือเหนียว น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูงจะทำให้ข้าวเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง

    A

    ไม่ อุณหภูมิของเหลวที่สูงกว่า 35°C หรือ 95°F จะทำให้หม้อหุงข้าวทำงานผิดปกติ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจะทำงานไม่ถูกต้อง ทำให้ข้าวสุกไม่ทั่วกัน ใช้น้ำเย็นดีที่สุด

    A

    ไม่ได้ ต้องรอให้หม้อหุงข้าวเย็นลงก่อนจึงจะเริ่มหุงรอบต่อไปได้ (ถอดหม้อด้านในออกแล้วเปิดฝา ทิ้งไว้อย่างน้อย 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้อง) สำหรับการหุงรอบสอง อย่าลืมใช้น้ำเย็นหรือน้ำซุปเย็น หากทำให้อุณหภูมิสูงกว่า 35°C/95°F เซ็นเซอร์อาจทำงานไม่ถูกต้อง และมักจะทำให้ข้าวไม่สุก
    อย่าเพิ่งใส่หม้อด้านใน/ข้าวรอบสองลงในหม้อหุงข้าวขณะกำลังรอให้เครื่องเย็น ความร้อนที่ยังหลงเหลืออยู่ในหม้อด้านในอาจทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 35°C/95°F

    A

    หากเครื่องทำงานผิดปกติหรือต้องมีการซ่อม โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า

    A
    • คุณเปิดโหมดอุ่นไว้นานเกิน 24 ชั่วโมงหรือไม่
    • ตัวเลขแสดงเวลาอุ่นกะพริบหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง
    • แนะนำให้เอาข้าวที่เหลือในหม้อออกไปใส่ไว้ในภาชนะอื่น
    A

    [กลิ่นบูด]

    กลิ่นบูดมักจะเกิดจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ข้าวที่หุงไม่สุกมักจะมีแบคทีเรียที่ชื่อ "บาซิลลัส ซีเรียส" ซึ่งพบได้ในดิน แบคทีเรียที่สร้างสปอร์ได้นี้จะอยู่รอดจากกระบวนการหุง และสามารถเพิ่มจำนวน เติบโต และปล่อยสารพิษได้ หากไม่รีบนำข้าวไปแช่เย็นทันทีหรือจัดเก็บไม่เหมาะสม การนำข้าวบูดไปอุ่นซ้ำไม่ได้ช่วยกำจัดสารพิษหรือฆ่าเซลล์แบคทีเรีย และแย่หน่อยตรงที่ข้าวที่เริ่มมีแบคทีเรียนี้จะแยกไม่ออกเลยจากข้าวปกติ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอก รสชาติ หรือกลิ่น
    เป็นเรื่องปกติที่ร้านอาหารมักจะต้องเตรียมข้าวปริมาณมากโดยเก็บไว้ในหม้อหุงข้าวเป็นเวลานาน การให้ความร้อนตามปกติอาจทำให้สปอร์แตกตัว ทำให้มันเพิ่มจำนวนและเติบโตภายในสภาวะที่อุ่นและชื้น ไม่ค่อยมีใครทราบนักว่า ข้าวที่เราคิดว่าหุงสุกนี่ล่ะที่เป็นตัวการของอาหารเป็นพิษ ข้าวที่หุงสุกแล้วต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิสูงกว่า 140°F (60°C) หรือรีบแช่เย็นทันทีในภาชนะอื่นและเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 39°F (3.9°C) เพื่อลดการเจริญเติบโตและการก่อตัวของสารพิษ
    เมื่อข้าวในหม้อเริ่มส่งกลิ่น แสดงว่าแบคทีเรียเจริญเติบโตไปมากแล้ว ซึ่งหากกินเข้าไปอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากแบคทีเรียบาซิลลัส ซีเรียสไม่สามารถกำจัดด้วยน้ำเดือดได้ โปรดทำตามวิธีการทำความสะอาดดังต่อไปนี้

    • ถอดหม้อด้านใน จุกระบายไอน้ำด้านใน ปะเก็น ที่รองหยดน้ำ และที่ใส่ทัพพีออก
    • ทำการฆ่าเชื้อดังนี้ ผสมสารฟอกขาวคลอรีน 2 ช้อนโต๊ะ น้ำยาล้างจาน 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำร้อน/น้ำต้ม
    • แช่ชิ้นส่วนที่ถอดได้เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง
    • ล้างให้สะอาด
    • เช็ดด้วยผ้าแห้ง
    • คุณซาวข้าวเกลี้ยงแล้วหรือยัง
    • ล้างส่วนที่เป็นรำข้าวออก รำข้าวที่เหลืออยู่อาจส่งกลิ่นและเปลี่ยนสี
    • คุณตั้งเวลาไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงหรือไม่
    • เมื่อรอบข้างมีอุณหภูมิสูง บางครั้งน้ำและข้าวที่หุงไม่สุกอาจบูดได้ เราแนะนำให้ตั้งเวลาไว้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงสำหรับฤดูร้อน
    • คุณเจอปัญหาไฟไม่เข้าเครื่องเป็นเวลานานหรือไม่
    • โปรดดูในหน้าคำตอบเกี่ยวกับปัญหาไฟไม่เข้าเครื่อง*1

    [แห้งติดหม้อ]

    • คุณใช้ถ้วยตวงที่มาพร้อมกับหม้อหุงข้าวหรือไม่
    • คุณเปิดโหมดอุ่นไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงหรือไม่
    • คุณกวาดข้าวไปรวมไว้ตรงกลางขณะใช้โหมดอุ่นหรือไม่
    • คุณอุ่นข้าวในปริมาณมากแค่ไหน
    • หม้อหุงข้าวแต่ละรุ่นมีปริมาณขั้นต่ำสำหรับอุ่นแตกต่างกันไป

    [เปลี่ยนสี]

    • คุณได้ล้างเศษข้าวออกจนหมดหลังใช้งานหรือไม่
    • คุณซาวข้าวแล้วหรือเปล่า (ล้างคราบ ฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรกออกให้หมด)
    • คุณเปิดโหมดอุ่นไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงหรือไม่
    • ข้าวเปลี่ยนสีเนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ลดเวลาอุ่นให้น้อยลง
    • คุณพบเห็นข้าวหรือเมล็ดข้าวไหม้ติดอยู่ตามขอบยางหรือขอบหม้อด้านในหรือไม่
    • คุณอุ่นซ้ำเกิน 3 ครั้งหรือไม่
    • เราไม่แนะนำให้ใช้น้ำด่างที่มีค่า pH สูงกว่า 9 น้ำด่างจะทำลายส่วนประกอบแป้งในข้าว ทำให้ข้าวแฉะหรือเหนียว น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูงจะทำให้ข้าวเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง
    A
    • คุณใช้ถ้วยตวงที่มาพร้อมกับหม้อหุงข้าวหรือไม่
    • โปรดใช้ถ้วยตวงทุกครั้ง อย่ากะปริมาณน้ำเองด้วยสายตา เพราะมักจะไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ การตวงที่แม่นยำมีความสำคัญมาก
    • คุณพยายามหุงข้าวกี่ถ้วย
    • หม้อหุงข้าวแต่ละรุ่นมีปริมาณสำหรับหุงที่แนะนำแตกต่างกันไป (โปรดดูจากคู่มือ) คุณต้องหุงข้าวมากกว่าปริมาณขั้นต่ำและไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนด
    • คุณเติมน้ำมากแค่ไหน
    • เช่น ใส่ข้าวสาร 3 ถ้วยและเติมน้ำให้ถึงขีด 3 ที่ระบุไว้ในหม้อด้านใน ขีดบอกระดับน้ำนี้อ้างอิงจากข้าวเมล็ดสั้น ข้าวชนิดอื่นๆ อาจใช้ระดับน้ำแตกต่างจากนี้
    • คุณเลือกเมนูผิดหรือไม่
    • โปรดตรวจสอบเมนู
    • คุณเจอข้าวหรือเมล็ดข้าวไหม้ตรงไหนบ้างหรือไม่
    • ขจัดเศษข้าวเหล่านี้ออกให้หมด
    • ตรวจดูที่จุกระบายไอน้ำว่าอุดตันหรือไม่
    • แป้งข้าวอาจอุดตันที่จุกระบายไอน้ำ ให้ล้างชิ้นส่วนทุกครั้งที่ใช้งาน
    • คุณได้ซาวข้าวก่อนหรือไม่
    • โปรดซาวข้าวให้เกลี้ยง สิ่งสกปรกและรำข้าวที่เหลืออยู่จากกระบวนการสีข้าวอาจทำให้น้ำล้นออกมาเวลาหุงได้
    A
    • เวลาหุงข้าวโดยทั่วไปคือ 45-58 นาทีสำหรับข้าวขาวปกติ โหมดหุงด่วนจะใช้เวลา 17-44 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณและอุณหภูมิโดยรอบ
    • คุณเลือกเมนูผิดหรือไม่
    • โปรดตรวจสอบเมนู
    • คุณเจอข้าวหรือเมล็ดข้าวไหม้ในหม้อหุงข้าวบ้างหรือไม่
    • กำจัดเศษข้าวสารที่หลุดรอดไปให้หมด หากคุณไม่เห็นความคืบหน้าใดๆ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • หม้อด้านในมีการบิดเบี้ยวผิดรูปหรือไม่
    • ต้องเปลี่ยนหม้อด้านในใหม่ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • คุณใช้ถ้วยตวงที่มาพร้อมกับหม้อหุงข้าวหรือไม่ คุณได้ใส่เครื่องปรุงหรือส่วนผสมลงในข้าวหรือไม่
    • ตรวจสอบว่าคุณตวงข้าว ส่วนผสม หรือน้ำถูกต้องแล้ว
    • คุณเจอปัญหาไฟไม่เข้าเครื่องเป็นเวลานานหรือไม่
    • โปรดดูในหน้าคำตอบเกี่ยวกับปัญหาไฟไม่เข้าเครื่อง *1
    A
    • หม้อหุงข้าวกะพริบแสดงตัวเลข 0:00 หรือไม่
    • โปรดตั้งเวลาปัจจุบันโดยทำตามคู่มือ
    • การตั้งเวลาใช้ไม่ได้กับเมนูข้าวเหนียว (Sweet rice) และข้าวผสม (Mix rice)
    • โปรดใช้ตัวเลือกเมนูอื่นๆ
    A
    • หากไฟไม่เข้าเครื่องแต่เป็นแค่ช่วงสั้นๆ เมื่อไฟกลับมา ฟังก์ชันทั้งหมดอาจกลับสู่สภาวะปกติและนาฬิกายังคงทำงานได้ถูกต้องเหมือนเดิม
    • แต่หากไฟไม่เข้าเครื่องเป็นเวลานาน หน้าจอแสดงสถานะจะกะพริบแสดงตัวเลข 0:00...
    • โปรดตั้งเวลาปัจจุบันให้ถูกต้องโดยทำตามคู่มือ
    • หากไฟฟ้ากลับมาในสถานการณ์ต่อไปนี้ (หากไฟดับเป็นเวลานานและกลับสู่สภาวะปกติหลังจากเวลาที่ตั้งไว้ หม้อหุงข้าวจะเริ่มทำการหุงทันที)
    • ขณะกำลังหุงข้าว (หรือกำลังอุ่นข้าวซ้ำ)
    • ทำการหุงต่อ (หรืออุ่นซ้ำต่อ)
    • ขณะกำลังอุ่นข้าว (หรือกำลังอุ่นข้าวด้วยอุณหภูมิต่ำ)
    • ทำการอุ่นต่อ (หรืออุ่นด้วยอุณหภูมิต่ำต่อ)
    A
    • คุณอาจเลือกปุ่มเมนูผิด
    • กดปุ่มเมนูแล้วเลือกปุ่มที่ถูกต้อง
    • มีเศษหรือเมล็ดข้าวตกค้างอยู่บนแผ่นทำความร้อนหรือไม่
    • ขจัดเศษข้าวเหล่านี้ออกให้หมด หากคุณไม่เห็นความคืบหน้าใดๆ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • หม้อด้านในมีการบิดเบี้ยวผิดรูปหรือไม่
    • คุณต้องเปลี่ยนอะไหล่ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • คุณใช้น้ำเปล่าหรือน้ำซุปอุ่นๆ หรือไม่
    • หากทำให้อุณหภูมิสูงกว่า 35°C/95°F เซ็นเซอร์อาจทำงานไม่ถูกต้อง และมักจะทำให้ข้าวไม่สุก ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำซุปเย็นจะดีที่สุด
    A

    ใช้เฉพาะทัพพีที่ให้มาเท่านั้น ห้ามใช้มีด ไม้เสียบ ช้อนส้อมโลหะ

    A
    • คุณเจอชิ้นส่วนหลวมบริเวณแผ่นทำความร้อนหรือไม่
    • ตรวจสอบว่าเสียบปลั๊กแน่นดีแล้ว (ตรวจดูทั้งสองด้าน)
    • เอาวัสดุแปลกปลอม เศษข้าวไหม้ สิ่งสกปรก และน้ำที่เหลืออยู่ออกให้หมดก่อนที่จะเริ่มหุง
    A
    • คุณเจอเศษข้าวไหม้ที่แผ่นทำความร้อนหรือด้านนอกตัวหม้อด้านในหรือไม่
    • ใช้ผ้าเช็ดวัสดุแปลกปลอม เศษข้าวไหม้ เมล็ดข้าวไหม้ และน้ำที่เหลืออยู่ออกให้หมดก่อนที่จะเริ่มหุง
    A
    • มีเศษฝุ่นที่ปลั๊กหรือไม่
    • ให้เอาเศษเหล่านั้นออก หากยังใช้การไม่ได้ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • สายไฟพันกันหรือขดงอหรือไม่
    • จัดสายไฟใหม่ให้ตรง
  • A

    โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า

    A
    • คุณอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงหรือไม่
    • กาต้มน้ำไฟฟ้าไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้ในพื้นที่สูง โปรดติดต่อร้านค้า
    A
    • นั่นเป็นแค่เสียงน้ำเดือด ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากผนังด้านในไม่สะอาด อาจทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้น
    • ให้ทำความสะอาดผนังด้านใน
    A

    ในตอนใช้งานครั้งแรกๆ คุณอาจได้กลิ่นชิ้นส่วนเคลือบเรซิน กลิ่นนี้จะค่อยๆ หายไป

    A
    • เทน้ำออกแล้ววางทิ้งไว้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กจนกว่าระดับน้ำจะหายเป็นปกติ ตั้งตัวเครื่องให้ตรง
    • หากวางไม่ดี อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ โปรดหยุดใช้งานและติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    A
    • เสียบปลั๊กไฟ
    • คุณต้มน้ำต่ำกว่าขีดที่กำหนดหรือไม่
    • ถอดปลั๊กออก เติมน้ำ แล้วเสียบปลั๊กอีกครั้ง
    A
    • คุณได้ใส่น้ำร้อนลงไปหรือไม่
    • ให้ใช้น้ำในอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็น
    • คุณใส่น้ำเกินขีดสูงสุดที่กำหนดหรือไม่
    • ระดับน้ำต้องไม่เกินขีดสูงสุดที่กำหนด
    • ปะเก็นชำรุดหรือเปลี่ยนสี
    • เราแนะนำให้เปลี่ยนปะเก็นใหม่ปีละครั้ง
    A
    • เศษผงเหล่านั้นไม่ได้มาจากสารเคลือบกันติด และจุดสีแดงนั้นก็ไม่ใช่สนิม แต่เป็นตะกอนแร่ธาตุต่างๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง) ที่จับตัวกันในผนังด้านใน หรือที่เรียกกันว่าคราบหินปูน
    • ซึ่งไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่เราก็แนะนำให้ทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ "กรดซิตริก" สำหรับทำความสะอาดของเรา
    • ขณะที่ต้มน้ำจะเกิดตะกอนแร่ธาตุสะสมอยู่บนผนังด้านในของกาต้มน้ำ
    • หากไม่ขจัดตะกอนนี้ออกด้วยกรดซิตริก ตะกอนพวกนี้จะไปจับตัวกันที่หัวปั๊มและทำให้กดน้ำไม่ออก
    • ต่อไปนี้เป็นวิธีทำความสะอาดกาต้มน้ำด้วยกรดซิตริก
    • เติมกรดซิตริก (30 กรัม) ลงในตัวหม้อด้านใน (คุณอาจใช้น้ำส้มสายชูกลั่น 16 ออนซ์ / 2 ถ้วย / 480 มล. แทนได้ )
    • เติมน้ำให้ถึงขีดสูงสุดแล้วปิดฝา
    • ต้มน้ำจนเดือดแล้วปล่อยให้อยู่ในอุณหภูมิสูงสุด (208°F หรือ 98°C) เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ไม่ต้องถอดปลั๊กระหว่างการทำความสะอาด
    • กดน้ำออกจนหมด (ใช้ปุ่มกดน้ำหรือตัวแอร์ปั๊มก็ได้)
    • หากเครื่องยังไม่สะอาด ให้ทำตามขั้นตอนเดิมซ้ำอีกครั้ง คำเตือน: โปรดระวังน้ำร้อน
    • คุณอาจใช้น้ำส้มสายชูกลั่น 1 ส่วนกับน้ำเปล่า 3 ส่วนแทนได้
    A
    • คุณได้ล้าง/แช่กาต้มน้ำทั้งเครื่องหรือไม่
    • หากวางไม่ดี อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ โปรดหยุดใช้งานและติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    A
    • คุณทำให้ตัวเครื่องด้านนอกเปียกหรือไม่
    • หากวางไม่ดี อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ โปรดหยุดใช้งานและติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    A
    • มีเศษอะไรติดอยู่ที่ปลั๊กหรือไม่
    • ให้เอาเศษเหล่านั้นออก
  • A

    หม้อรุ่นนี้ไม่มีตัวทำความร้อนที่ด้านล่างของเครื่อง แหล่งความร้อนจะอยู่ที่ส่วนฝาปิดและผนังด้านซ้ายและขวา โปรดใส่อาหารอย่างน้อย 50% ของความจุ การใส่อาหารน้อยกว่า 50 % ของความจุอาจทำให้อาหารเน่าเสียได้

    A

    แผ่นซิลิโคนช่วยป้องกันข้าวไหม้ หากต้องการทำความสะอาด ให้ใช้สบู่อ่อนๆ และน้ำอุ่น อย่าใช้สารฟอกขาวคลอรีน

    A

    ไม่ได้ ตัวทำความร้อนให้ความร้อนสูงเกินไปที่จะต้มโจ๊ก

    A
    • คุณซาวข้าวก่อนหุงหรือไม่
    • โปรดซาวข้าวก่อนหุง
    • คุณใช้น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างที่มีค่า pH สูงกว่า 9 หรือไม่
    • โปรดตรวจสอบค่า pH
    • คุณเปิดโหมดอุ่นไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงหรือไม่
    • ข้าวเปลี่ยนสีเนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน นี่เป็นการเสื่อมสภาพของอาหารตามธรรมชาติซึ่งไม่สามารถป้องกันได้ ลดเวลาอุ่นให้น้อยลง
    A
    • เเราแนะนำให้แช่ข้าวไว้อย่างน้อย 30-40 นาทีก่อนหุง อย่าลืมใช้แผ่นซิลิโคน
    • เราแนะนำให้ซาวข้าวถึงแม้คุณจะใช้ข้าวชนิดไม่ต้องซาวก็ตาม (ล้างคราบ ฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรกออกให้หมด)
    A

    ไม่ได้ ตัวหม้อด้านในไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับเตาไฟฟ้า

    A

    เสียงนั้นเกิดจากการขยายตัวเมื่อโดนความร้อน ไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อย่างใด

    A
    • คุณต่อสายไฟถูกต้องหรือไม่
    • คุณปรับการควบคุมอุณหภูมิหรือไม่?
    • คุณใส่หม้อด้านใน/แผ่นทำความร้อนถูกต้องหรือไม่
    • มีเศษผง/สิ่งสกปรกติดอยู่ระหว่างตัวหม้อกับแผ่นทำความร้อนหรือไม่
    • คุณลองเอาปลั๊กไปเสียบที่อื่นแล้วหรือยัง
  • A

    โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า

    A

    สิ่งที่ต้องตรวจสอบ:

    • พบเห็นรอยคราบใดๆ หรือไม่
    • ถอดปะเก็นออกแล้วนำไปล้างให้สะอาด
    • วิธีลดกลิ่น: ใส่กรดซิตริก (1 ช้อนชา) และน้ำร้อนลงในภาชนะด้านในแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
    • คุณใส่เครื่องดื่มไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือไม่
    • วิธีลดกลิ่น: ใส่กรดซิตริก (1 ช้อนชา) และน้ำร้อนลงในภาชนะด้านในแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
    A
    • คุณใส่เครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
      หมายเหตุ: ในพื้นที่ที่หนาวจัด การเก็บอุณหภูมิอาจทำได้ไม่ดีตามปกติ
    • แล้วคุณใส่เครื่องดื่มในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่
    A
    • ปะเก็นยางและชิ้นส่วนเคลือบเรซินจะสัมผัสกับน้ำร้อนหรือไอน้ำระหว่างการใช้งาน
    • วามร้อนจะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้เสื่อมสภาพลง
    • ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนทดแทนได้
    • ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    A
    • มี “จุดสีแดงเหมือนสนิม” หรือ “คราบขรุขระ” เกาะอยู่หรือไม่
      หมายเหตุ: ภาชนะด้านในทำจากสแตนเลสจึงไม่ขึ้นสนิม แต่ตะกอนในน้ำ เช่น คราบสีสนิมหรือแคลเซียมอาจเกาะอยู่ได้
    • ใส่กรดซิตริก (1 ช้อนชา) และน้ำร้อนลงในภาชนะด้านในแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นขัดด้วยแปรง/ฟองน้ำนุ่มๆ แล้วล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
    A

    คุณใส่น้ำแข็งแห้งหรือน้ำอัดลมลงไปหรือไม่

    A
    • คุณใส่เครื่องดื่มมากเกินไปหรือไม่
    • ใส่เครื่องดื่มให้น้อยลง
    A
    • คุณได้นำทั้งกระติกไปล้างหรือไม่
    • ให้ลองทดสอบดังนี้
    • ใส่น้ำร้อนลงในภาชนะ
    • รอประมาณ 2-3 นาที
    • แตะที่ตัวกระติกด้านนอก
    • ถ้ารู้สึกร้อน แสดงว่าฉนวนสุญญากาศไม่ทำงาน
    • ฉนวนสุญญากาศไม่สามารถซ่อมได้
    A
    • คุณใส่น้ำร้อนหรือน้ำธรรมดามากกว่าขีดเต็มหรือระดับที่กำหนดไว้หรือไม่
    • ใส่เครื่องดื่มให้น้อยลง
    • มีอะไรเข้าไปติดในสต็อปเปอร์อันกลางหรือไม่
    • คุณใส่เครื่องดื่มมากเกินไปหรือไม่
    • ใส่เครื่องดื่มให้น้อยลง
    • คุณใส่ปะเก็นยางถูกตำแหน่งหรือไม่
    • ทำตามคำแนะนำและใส่ปะเก็นใหม่ให้ถูกต้อง
    • คุณใส่สต็อปเปอร์อันกลางถูกตำแหน่งหรือไม่
    • ใส่สต็อปเปอร์ใหม่ให้ถูกต้อง
    • คุณใส่สายคล้องและตัวเก็บสายคล้องถูกตำแหน่งหรือไม่
    • โปรดดูคู่มือและใส่ให้ถูกตำแหน่ง
    • คุณใช้เครื่องลวกหรือเครื่องล้าง/อบจานกับสต็อปเปอร์อันกลางหรือไม่
    • การทำเช่นนั้นอาจทำให้สต็อปเปอร์อันกลางเสียหายได้ ซึ่งคุณจะต้องซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • มีสต็อปเปอร์อันกลาง ปะเก็นยาง หรือชิ้นส่วนที่ใช้แล้วทิ้งอื่นๆ หรือไม่
    • ปะเก็นยางและชิ้นส่วนเคลือบเรซินซึ่งสัมผัสกับน้ำร้อนหรือไอน้ำถือเป็นชิ้นส่วนที่ใช้แล้วทิ้ง เมื่อมีการใช้งาน ชิ้นส่วนพวกนี้อาจได้รับความเสียหาย และการเปลี่ยนอะไหล่ด้านในนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับลูกค้า โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า ปะเก็นยางและชิ้นส่วนเคลือบเรซินผ่านมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร คุณจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
    • คุณเคยทำผลิตภัณฑ์หล่นหรือกระแทกอย่างแรงหรือไม่
    • หากเป็นเช่นนั้นก็จำเป็นต้องตรวจสอบ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    A
    • ในตอนใช้งานครั้งแรกๆ คุณอาจได้กลิ่นเหม็นจากกระติก
    • ให้ใส่น้ำร้อนแล้วปิดฝาให้แน่น เขย่าสัก 1 นาทีแล้วเทน้ำออก ทำแบบเดิมอีกสองสามครั้ง
    • คุณได้เอาไปล้างหรือไม่

    • คุณใส่เครื่องดื่มไว้นานหรือไม่
    • คุณใช้สารฟอกขาวคลอรีนหรือไม่
    • โปรดทำตามวิธีการทำความสะอาด
    A
    • ภาชนะด้านในทำจากสแตนเลส การเปลี่ยนสีเหมือนสนิมที่คุณเห็นนั้นเกิดจากธาตุเหล็กในน้ำ มีตะกอนแร่ธาตุ
    • โปรดทำความสะอาดด้วยกรดซิตริกหรือน้ำส้มสายชูกลั่น ผสมกรดซิตริก/น้ำส้มสายชูกลั่นกับน้ำร้อน ทิ้งไว้สักสองสามชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยฟองน้ำนุ่มๆ
    A
    • คุณใส่เครื่องดื่มถึงขีดสูงสุดหรือไม่
    • คลายฝาเกลียวออกแล้วเทเครื่องดื่มทิ้งไปเล็กน้อย
    • อย่าเขย่าหลังจากใส่น้ำร้อนลงไป เพราะจะทำให้เกิดแรงดันที่ฝา ทำให้กดปุ่มเปิดได้ยาก
    • คลายฝาเกลียวออกเพื่อลดแรงดัน แล้วลองกดปุ่มเปิดอีกครั้ง
    • ปิดฝาเกลียวขณะที่ปุ่มเปิดอยู่
    A
    • คุณทำผลิตภัณฑ์หล่น/กระเทือนหรือไม่ หรืออาจเกิดการกระแทกรุนแรง
    • กรณีนี้จะทำให้ระบบสุญญากาศใช้การไม่ได้ และไม่สามารถซ่อมได้
    • คุณใส่เครื่องดื่มร้อน/เย็น
    • ใส่มากน้อยเท่าไหร่
    • คุณต้องใส่เครื่องดื่มในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะเก็บความร้อน/ความเย็นได้
    • อย่าล้างตัวกระติกด้านนอก
    • เพราะอาจทำให้ระบบสุญญากาศเสียหายได้ และเป็นสาเหตุให้การเก็บรักษาอุณหภูมิด้อยประสิทธิภาพลง
    • คุณใช้ผลิตภัณฑ์ในที่ร้อน/เย็นจัดหรือไม่
    • ประสิทธิภาพในการเก็บรักษาอุณหภูมิจะลดลงในสภาพอากาศร้อน/เย็นจัด
    A
    • คุณใส่เครื่องดื่มเกินขีดสูงสุดที่กำหนดหรือไม่
    • ใส่เครื่องดื่มให้น้อยลง โดยให้อยู่ต่ำจากขอบบน 1/2 นิ้ว
    • คุณใส่ปะเก็นถูกต้องหรือไม่
    • คุณใส่ฝาเกลียวถูกต้องหรือไม่
    • คุณปิดฝาพับแน่นสนิทหรือไม่
    • คุณใช้เครื่องลวกหรือเครื่องล้าง/อบจานหรือไม่
    • ปะเก็นมีร่องร่อยเสื่อมสภาพหรือไม่
    • โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อเปลี่ยนอะไหล่ อะไหล่พวกนี้ต้องเสียเงิน
    • คุณทำผลิตภัณฑ์หล่น/กระเทือนหรือไม่ หรืออาจเกิดการกระแทกรุนแรง
    • คุณปิดปุ่มขณะที่กระติกเอียงอยู่หรือไม่
    • ตั้งกระติกให้ตรงสักสองสามวินาที แล้วจึงปิดปุ่ม
    • คุณแน่ใจหรือไม่ว่าได้ปิดปุ่มที่ฝาเกลียวแล้ว
    • โปรดปิดปุ่มก่อนที่จะปิดฝาเกลียว
  • A

    เมื่อใส่น้ำร้อนในตัวแก้วด้านใน คุณอาจเห็นเศษอะไรบางอย่างวิบวับอยู่ในนั้น เศษเหล่านี้คือ "ตะกรัน" ตะกรันเกิดจากการรวมตัวทางเคมีของแร่ธาตุที่ผสมอยู่ในน้ำร้อน กลายเป็นแผ่นบางๆ เกาะอยู่บนผนังด้านในของกระติกแก้ว
    ตะกรันเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากเกิดตะกรันสะสมมาก ให้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ตามขั้นตอนด้านล่างนี้
    (1) เจือจางน้ำส้มสายชูในน้ำอุ่น (ประมาณ 10% ของปริมาณน้ำอุ่น) และเทลงในกระติกแก้วด้านใน หรือเจือจางกรดซิตริก (ประมาณ 10 กรัม) ในน้ำอุ่น และเทลงในกระติกแก้วด้านใน (ห้ามใช้น้ำส้มสายชูร่วมกับกรดซิตริก)
    (2) ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นขัดตัวกระติกด้านในด้วยแปรงนุ่มๆ แล้วล้างให้ทั่ว
    (3) เช็ดให้แห้ง
    หมายเหตุ:

    • หากต้องการกรดซิตริก โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายที่คุณซื้อผลิตภัณฑ์
    • แม้จะไม่เกิดคราบตะกรัน คุณก็ควรล้างทำความสะอาดตัวกระติกแก้วด้านในเป็นระยะตามวิธีการข้างต้นเพื่อเป็นการป้องกัน
    A

    นั่นคือ "แผ่นตะกอน" แร่ธาตุในน้ำจะจับตัวกันจนกลายเป็นแผ่นบางๆ ที่ผิวหม้อด้านใน จากนั้นจึงแตกร่อนและลอยอยู่ในน้ำ แผ่นตะกอนเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากพบเห็นแผ่นตะกอน ให้เจือจางกรดซิตริก 10% กับน้ำอุ่นแล้วใส่ลงในหม้อ ทิ้งไว้ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง จากนั้นขัดออกด้วยแปรงนุ่มๆ
    หมายเหตุ: คุณสามารถทำความสะอาดตามวิธีข้างต้นได้ แม้จะไม่เห็นแผ่นตะกอนก็ตาม

    A
    • คุณทำกาน้ำร้อนหล่นหรือไม่
    • แก้วที่บุไว้แตก: โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อส่งซ่อม
    • รุ่นสแตนเลส: ฉนวนสุญญากาศไม่ทำงาน ไม่สามารถซ่อมได้
    A
    • ตรวจสอบว่าปะเก็นยางที่ฝาปิดเสียหายหรือหลวมหรือไม่
    • ถ้าเสียหาย: โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
    • ถ้าหลวม: ใส่ปะเก็นให้ถูกตำแหน่ง
    • คุณใส่สต็อปเปอร์อันกลางถูกตำแหน่งหรือไม่
  • A

    เมื่อใส่น้ำร้อนในตัวแก้วด้านใน คุณอาจเห็นเศษอะไรบางอย่างวิบวับอยู่ในนั้น เศษเหล่านี้คือ "ตะกรัน" ตะกรันเกิดจากการรวมตัวทางเคมีของแร่ธาตุที่ผสมอยู่ในน้ำร้อน กลายเป็นแผ่นบางๆ เกาะอยู่บนผนังด้านในของกระติกแก้ว
    ตะกรันเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากเกิดตะกรันสะสมมาก ให้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ตามขั้นตอนด้านล่างนี้
    (1) เจือจางน้ำส้มสายชูในน้ำอุ่น (ประมาณ 10% ของปริมาณน้ำอุ่น) และเทลงในกระติกแก้วด้านใน หรือเจือจางกรดซิตริก (ประมาณ 10 กรัม) ในน้ำอุ่น และเทลงในกระติกแก้วด้านใน (ห้ามใช้น้ำส้มสายชูร่วมกับกรดซิตริก)
    (2) ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นขัดตัวกระติกด้านในด้วยแปรงนุ่มๆ แล้วล้างให้ทั่ว
    (3) เช็ดให้แห้ง
    หมายเหตุ:

    • หากต้องการกรดซิตริก โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายที่คุณซื้อผลิตภัณฑ์
    • แม้จะไม่เกิดคราบตะกรัน คุณก็ควรล้างทำความสะอาดตัวกระติกแก้วด้านในเป็นระยะตามวิธีการข้างต้นเพื่อเป็นการป้องกัน
    A

    โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า